









· ลุกขึ้น ออกไปข้างนอกแล้วถ่ายภาพ ออกไปข้างนอกทุกครั้ง ทุกวัน ออกไปค้นหา อย่ารอให้โอกาสเข้ามาหาเรา (แต่ก็ต้องเตรียมพร้อมไว้เสมอ) ออกไป แล้ว “ค้นหาสิ่งนั้น” มองหาโอกาสในทุกๆ ที่ที่ไป (แม้ว่าจะอยู่ในห้างหรืออีกฟากของโลกก็ตาม



5.หยุดมองหาสิ่งที่จะถ่ายแล้วเรียนรู้ที่จะมองแทน
· มองหาสี หรือมองหาในสิ่งตรงกันข้าม คือมองหาภาพที่ไม่มีสีหรือก็คือถ่ายภาพเป็นสีขาวดำ
· มองหาสิ่งที่ซ้ำและเป็นจังหวะ หรือมองหาสิ่งตรงกันข้าม คือ มองหาสิ่งที่แปลกแยกไปจากสิ่งรอบด้าน
· มองหาแสง และการขาดแสง ถ่ายภาพเงา เงาสะท้อน ลำแสงที่ส่องผ่านสิ่งของหรือสิ่งที่มืดสนิท คนส่วนใหญ่จะรอช่วงเวลา “ชั่วโมงทอง” (คือก่อนตะวันขึ้นฟ้าสัก 2–3 ชั่วโมง) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ถ่ายภาพแล้วได้แสงที่ดีที่สุด ทั้งนี้เป็นเพราะว่าแสงจะสร้างทิศทางของภาพ ซึ่งจะทำให้ภาพดูลึกลับและมีมิติ หากจัดวางได้อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ไม่ได้หมายความว่าการถ่ายภาพตอนกลางวันนั้นจะไม่ได้แสงที่ดีเท่า การที่พระอาทิตย์ตั้งอยู่บนหัวนั้นอาจจะมองว่ามันเป็นสิ่งที่เลวร้าย ลองมองหาอะไรที่ดูคลุมเครือหรือเปิดหน้าต่างเพื่อหาแสงที่เบาลง
· มองหาอารมณ์และท่าทาง เช่น ถ่ายภาพคนที่กำลังแสดงความสุข ความก้าวร้าว กำลังครุ่นคิด หรือเศร้า
· มองหาพื้นผิว รูปร่าง หรือรูปแบบ ภาพขาวดำที่ถ่ายออกมาดีจะดูน่าทึ่งมากเพราะว่าสีขาวและสีดำจะบังคับให้ช่างภาพมองหาสิ่งเหล่านั้น
· มองหาความแตกต่าง มองหาสิ่งของที่โดดเด่นออกมาจากสิ่งอื่น ในองค์ประกอบของภาพนั้น ใช้การซูมแบบกว้างสูงสุด (หรือใช้เลนส์กว้าง (Wide-angle lens)) แล้วค่อยๆ เข้าไปใกล้ๆ สิ่งของแล้วกดถ่าย มองหาการตัดกันของสิ่งต่างๆ สีสดใสตัดกับสีหมองคล้ำ แสงตัดกับเงา และอื่นๆ อีกมากมาย ถ้าจะถ่ายภาพคน ลองมอง (หรือค้นหา) คนที่มีลักษณะโดดเด่น ลองมองหาความสุขในสถานที่ที่เป็นไปไม่ได้ ลองหาคนที่อยู่ท่ามกลางสิ่งที่ไม่ควรรายล้อม ณ ที่แห่งนั้น
· มองหาสิ่งที่ดึงดูดความสนใจของคนดู ซึ่งเป็นสิ่งที่ “ไม่น่าจะ” เป็น “สิ่ง” ทั่วๆ ไปในสังคม ถ้าค้นพบสิ่งที่เข้ากับตัวเอง จะพบว่าท้ายที่สุดนั้น จะกลับไปถ่ายสิ่งนั้นอีกครั้ง นี่เป็นสิ่งที่ดี การมองหาสิ่งที่ “ไม่ใช่” จะช่วยพัฒนาการถ่ายภาพ แล้วจะได้พบกับโลกที่แตกต่างออกไป






7.ลองถ่ายภาพแบบฟิล์ม ถ้าถ่ายภาพแบบฟิล์มมาแล้ว ให้ลองถ่ายภาพแบบดิจิทัลด้วย กล้องแบบฟิล์มและดิจิทัลนั้นมีอาณาจักรให้ช่างภาพได้ศึกษาเป็นของตัวเอง กล้องทั้งสองแบบนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย และทั้งสองแบบนี้จะสอนนิสัยและรูปแบบการถ่ายภาพที่แตกต่างกันออกไป
· กล้องแบบดิจิทัลจะแสดงภาพที่ถ่ายไปแล้วทันที เพื่อที่จะดูได้ว่าสิ่งที่ถ่ายนั้นมีอะไรถูกอะไรผิด ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยลดต้นทุนการทดลองถ่ายจนแทบไม่ต้องใช้ต้นทุนเลย อย่างไรก็ตาม การไม่ต้องเสียต้นทุน ทำให้การถ่ายภาพดูง่ายเกินไป ซึ่งจะทำให้เกิดนิสัยที่ว่า “ถ่ายไปเรื่อยๆ ” เดี๋ยวก็มีสักภาพที่ออกมาดูดี
กล้องแบบฟิล์มนั้นจะบังคับให้ถ่ายภาพอย่างระมัดระวังมากขึ้น การถ่ายแบบฟิล์มจะทำให้คิดให้ดีก่อนที่จะถ่ายภาพ นอกจากนี้ ฟิล์ม ยังคง มีรูปร่างเป็นของตัวเอง และสามารถเลือกอุปกรณ์เสริมสำหรับถ่ายภาพระดับมือ



8. แสดงภาพที่ดีที่สุดให้คนอื่นได้ แม้แต่ช่างภาพชื่อดังก็ไม่สามารถถ่ายภาพที่ยอดเยี่ยมได้ด้วยการถ่ายเพียงครั้งเดียว พวกเขาจะเลือกสรรภาพมาอย่างดีว่าจะเอาภาพไหนให้คนอื่นได้ชม
· “เข้มงวด” กับเรื่องนี้ ถ้าภาพที่ถ่ายได้ไม่ “ยอดเยี่ยม” ก็ไม่ต้องแสดงภาพนั้น มาตรฐานจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แม้แต่ภาพที่คิดว่ามันแค่ใช้ได้ อาจจะเป็นภาพที่แย่ในเวลา



9.เปิดโอกาสและรับฟังคำติชมจากผู้อื่น อย่าตกอยู่ในกับดักของการโพสต์ว่า “วิจารณ์ภาพ” ลองตั้งกระทู้บนอินเทอร์เน็ตที่เต็มไปด้วยผู้วิจารณ์และประเมินภาพ (Pixel-peeper) คอยวิจารณ์งาน การหาคำติเพื่อก่อเป็นสิ่งที่ดีต่อตัวเอง ตราบใดที่ใส่ใจกับสิ่งที่รับฟัง
· ลองเข้าหาศิลปิน ถ้ามีศิลปินที่จัดแสดงผลงานดีๆ อยู่ เช่น รูปถ่าย ภาพวาด เพลงหรืองานศิลปะอื่นๆ เพราะจะเข้าใจดีถึงผลกระทบภายใน แม้ว่างานนั้นจะเป็นงานที่ถนัดหรือไม่ก็ตาม คนที่ไม่ใช่ศิลปินส่วนใหญ่นั้น มักจะบอกไม่ได้ว่าสิ่งที่ทำนั้นถูกรึไม่ (เขามักจะชมมากกว่า เพื่อรักษาน้ำใจ)
· อย่าไปใส่ใจกับคนที่วิจารณ์ภาพรุนแรงเกินไป คนเหล่านั้นก็ไม่ได้มีภาพดีๆ มาแสดง ความคิดของคนเหล่านั้นไม่คุ้มค่าที่จะไปใส่ใจ
· หาคำตอบว่าสิ่งใดทำถูก และสิ่งใดทำผิด ถ้ามีคนชอบภาพเหล่านั้น “อะไรทำให้ชอบ” ถ้ามีคนไม่ชอบภาพเหล่านั้นเลย “อะไรที่ทำพลาดไป” ศิลปินคนอื่นๆ จะสามารถช่วยบอกได้ว่าคุณทำอะไรผิดอะไรถูก
· อย่าถ่อมตัวถ้ามีคนชอบงาน เป็นเรื่องปกติที่ช่างภาพชอบได้รับคำชมจากภาพชิ้นเอกเหมือนที่คนอื่นๆชอบ แต่อย่าพยายามทำเป็นอวดดีก็พอ



10.ค้นหาผลงานที่สร้างแรงบันดาลใจ ภาพที่สร้างแรงบันดาลใจไม่ได้เป็นภาพที่ไร้ที่ติในเชิงเทคนิค ช่างภาพระดับต้น สามารถพกเลนส์กล้องดิจิทัล SLR ยาว 400 มิลลิเมตร โฟกัสที่ 2.8 ในราคาเกือบแสน เพื่อให้ได้ภาพนกที่คมเข้ม สวยงาม แต่ของแพงๆ เหล่านี้ไม่ได้ทำให้เป็นช่างภาพที่ดี Steve Cirone คุณควรจะมองหาผลงานที่ทำให้คุณยิ้ม หัวเราะ ร้องไห้ หรือรู้สึก “อะไรบางอย่าง” ที่ไม่ใช่ว่า “สัมผัสและโฟกัสดี” ถ้าสนใจภาพของคนทั่วไป ลองเข้าไปดูที่ Steve McCurry หรือสตูดิโอของ Annie Leibowitz.



11.เรียนรู้เคล็ดลับทางเทคนิค การถ่ายภาพที่ดีเป็นสิ่งที่น่าสนใจ มากกว่าภาพน่าเบื่อที่มีโฟกัสแล้วผิวสัมผัสอย่างไร้ที่ติ การถ่ายภาพแบบนี้ดีกว่าคนที่ไม่ได้ถ่ายอะไรเลย เพราะเอาเวลาไปยุ่งอยู่กับเทคนิคการถ่ายภาพเล็กๆน้อยๆมากเกินไป
· ความรู้เกี่ยวกับความเร็วชัตเตอร์ (Shutter speed) รูรับแสง (Aperture) และความยาวโฟกัส (Focal length) ยังคงมีประโยชน์ต่อการถ่ายภาพเสมอ เรียนรู้ถึงผลกระทบที่สิ่งเหล่านี้จะส่งผลต่อภาพ แม้ว่าความรู้เหล่านี้ไม่ได้ทำให้ภาพแย่ๆ กลายเป็นภาพที่ดีได้ แต่อาจจะช่วยไม่ให้พลาดภาพดีๆ ไปเพราะความผิดพลาดทางเทคนิคและสามารถทำให้ภาพดูดีขึ้นได้



12.ค้นหาสิ่งที่เข้ากับตัวเอง การสื่อสารกับมนุษย์ได้ดีพอที่จะถ่ายภาพผู้คน การออกเดินทางไปทุกสถานการณ์ การถ่ายภาพทิวทัศน์ อาจจะมีเลนส์สำหรับถ่ายไกลอันใหญ่ๆ และมีความสุขกับการแข่งรถ ซึ่งอาจจะทำให้พบว่าตัวเองอาจจะชอบถ่ายภาพสิ่งเหล่านี้ ลองทำทุกๆอย่าง ค้นหาสิ่งที่มีความสุขและทำสิ่งนั้น และที่สำคัญ อย่าปิดกั้นตัวเองในการทำอะไรสักอย่าง